วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี




ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543


ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ประกอบด้วย

ประเภทธุรกิจ
ผู้รับผิดชอบ


  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน



  • หุ้นส่วนผู้จัดการ



  • บริษัทจำกัด



  • กรรมการ



  • บริษัทมหาชนจำกัด



  • กรรมการ



  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

    ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย



  • ผู้รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย



  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร



  • ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ



  • สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ



  • ผู้จัดการ



  • บุคคลธรรมดา,ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ประกอบธุรกิจ

    ผลิตจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วิดีโอ



  • เจ้าของหรือผู้จัดการ





  • หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    - จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

    - ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี


    เรื่อง ดำเนินการ โทษ
    1. ผู้ทำบัญชี  
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    2. การทำบัญชี
    • ปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฎิบัติให้ถูกต้อง
    • การทำบัญชี ต้องครบถ้วนถูกต้องตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับ
      • ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ
      • ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี
      • ระยะเวลาที่ต้องมีในบัญชี
      • เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

    3.เอกสารที่ต้องใช้ประกอบลงบัญชี
    • จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติ ให้ถูกต้อง
    • ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    4. ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน
    • ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชีและปิดบัญชี ทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    • จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีหุ้นไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาทและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
    • ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
    5. การยื่นงบการเงิน
    • ยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและภายในเวลาที่กำหนด
    • ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
      • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
    ยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน

    นับแต่วันปิดบัญชี
      • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
      • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
      • บริษัทจำกัด
    ยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน

    นับแต่วันที่งบการเงินนั้น

    ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
      • บริษัทมหาชนจำกัด
    6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
    • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็น ประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลธรรมดาตามประเภท ที่กำหนดให้ทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีภายใน 90 วันนับแต่วัน เลิกประกอบธุรกิจ

    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น