วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี

การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า มีนิติบุคคลจำนวนมากที่ใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีและงบการเงิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พิจารณาแล้วว่าสำนักงานบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ธุรกิจจัดทำงบการเงินอย่างครบถ้วน ถูกต้อง สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่ผู้ใช้งบการเงินในด้านการตัดสินใจ การลงทุน ซึ่งจะเป็นผลกระทบในภาพรวมของเศรษฐกิจ ของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สำนักงานบัญชีปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน และมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากล กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้ผลักดันให้มีโครงการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี ขึ้นมา เพื่อให้เกิด สำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพ เป็นตัวอย่างสำนักงานบัญชีที่ดีอันควรยึดถือและปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างทางเลือกให้ธุรกิจได้มีโอกาสใช้บริการสำนักงานบัญชีที่มี คุณภาพ โดยกรมพัฒนา ธุรกิจการค้าเปิดโอกาสให้สำนักงานบัญชีที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการได้นับ แต่วันที่มีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. ... และข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี มีผลบังคับใช้
คุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิจะเข้าร่วมโครงการ

1. สำนักงานบัญชีซึ่งรับทำบัญชีของธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 30 ราย

2. หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว

3. มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน

4. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

5. ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

6. หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

7. ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม 2 และ 6 ด้วย
สิทธิประโยชน์ที่สำนักงานบัญชีซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจะได้รับ

1. สำนักงานบัญชีจะได้รับหนังสือรับรอง ซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี

2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเผยแพร่ชื่อ และที่อยู่ของสำนักงานบัญชีดังกล่าวให้สาธารณชนทราบ โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น Website กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

3. การที่สำนักงานบัญชีได้รับรองคุณภาพเท่ากับเป็นการรับรองเบื้องต้นแล้วว่า สำนักงานบัญชีนี้มีมาตรฐานการทำงานที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่สนใจจะใช้บริการ ซึ่งอาจมีผลให้ได้รับงานเพิ่มขึ้น

รับทำบัญชีเชียงใหม่

ข้อมูลจาก http://www.dbd.go.th

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ

ขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ

        

        ตามที่ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 60(5) กำหนดให้คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการ จรรยาบรรณสั่งลงโทษ ดังนั้น คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี จึงได้กำหนดขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูก คณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ เพื่อให้การพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณ สั่งลงโทษเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ดังนี้

1. ขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ



พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 60(5) กำหนดให้คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการ จรรยาบรรณสั่งลงโทษ

เพื่อให้การพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณ สั่งลงโทษเป็นไปด้วยความโปร่งใส และมีประสิทธิผลคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี จึงได้กำหนดขั้นตอนการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้

    1.1 การยื่นคำอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ยื่นคำอุทธรณ์ต่อเลขานุการคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพ บัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ (ประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ พ.ศ. 2549)

    1.2 การตรวจสอบคำอุทธรณ์และเอกสารประกอบคำอุทธรณ์ เลขานุการฯตรวจสอบคำอุทธรณ์ว่าจัดทำเป็นหนังสือโดยจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย ระบุชื่อ ที่อยู่ ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ และระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบพร้อมกับแนบ เอกสารหลักฐานประกอบคำอุทธรณ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ หากผู้ยื่นอุทธรณ์ยื่นเอกสารประกอบคำอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำอุทธรณ์หรือส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำอุทธรณ์เพิ่มเติม ได้ ภายในกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ (ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ)

    1.3 การขอเอกสารหลักฐานการประกอบพิจารณาจากคณะกรรมการจรรยาบรรณ เลขานุการฯมีหนังสือขอให้คณะกรรมการจรรยาบรรณ ชี้แจงข้อเท็จจริงและขั้นตอนการพิจารณาสั่งลงโทษจรรยาบรรณหรือยกคำกล่าวหา พร้อมนำส่งเอกสารหลักฐานประกอบการชี้แจง ภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับคำอุทธรณ์ครบถ้วนเป็นไปตามที่ประกาศฯกำหนด และให้คณะกรรมการจรรยาบรรณนำส่งคำชี้แจงและเอกสารหลักฐานดังกล่าว ต่อเลขานุการคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือของเลขานุการคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบ วิชาชีพบัญชี

*ขั้นตอนที่ 1-3 ใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 2 เดือน

    1.4 การรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์ เมื่อ เลขานุการได้รับคำชี้แจงและเอกสารหลักฐานจากคณะกรรมการจรรยาบรรณ แล้ว ให้รวบรวมข้อมูลทั้งจากผู้อุทธรณ์และคณะกรรมการจรรยาบรรณ เสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์

    1.5 การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์ คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการ จรรยาบรรณสั่งลงโทษ เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี

    1.6 การวินิจฉัยของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีพิจารณาคำอุทธรณ์ตามที่ คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์เสนอ ก่อนมีคำวินิจฉัยยกคำอุทธรณ์หรือยกเลิกคำสั่งลงโทษของคณะกรรมการจรรยาบรรณ

* ขั้นตอนที่ 4-7 ใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 3 เดือน

** ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาอุทธรณ์ 1 ราย ใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 5 เดือน

    1.7 การแจ้งผลการอุทธรณ์ เลขานุการคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีจะแจ้งผลการวินิจฉัยของ คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ให้ผู้อุทธรณ์ คณะกรรมการจรรยาบรรณและคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์ทราบ ดังนี้

กรณียกคำอุทธรณ์
จะแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีมีคำวินิจฉัย

กรณียกเลิกคำสั่งคณะกรรมการจรรยาบรรณ
จะแจ้งผลการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์และคณะกรรมการจรรยาบรรณทราบ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีมีคำวินิจฉัย

2. แนวทางในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ

    2.1 พิจารณาขั้นตอนการสอบสวนและการพิจารณาของคณะกรรมการจรรยาบรรณว่าเป็นไป ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 12) เรื่องการพิจารณาเกี่ยวกับจรรยาบรรณ พ.ศ. 2549 ข้อกำหนดสภาวิชาชีพบัญชี เรื่อง การกำหนดองค์ประกอบ วิธีการแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับจรรยาบรรณ พ.ศ. 2549 และข้อกำหนดสภาวิชาชีพบัญชี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนของคณะอนุกรรมการสอบสวน พ.ศ. 2550 พิจารณาข้อเท็จจริงในการสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณ

    2.2 พิจารณาข้อเท็จจริงในการสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณ

    2.3 พิจารณาประเด็นข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์ ว่าเป็นประเด็นเดียวกับที่คณะกรรมการจรรยาบรรณได้พิจารณาลงโทษ รวมทั้งเหตุผลข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์ว่ารับฟังได้หรือไม่

    2.4 พิจารณาระดับการลงโทษของคณะกรรมการจรรยาบรรณว่ามีความสอดคล้องกับข้อเท็จ จริงและหลักเกณฑ์การพิจารณาลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่กำหนดไว้

(แผนภูมิขั้นตอนการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ)


รับทำบัญชีเชียงใหม่

ข้อมูลจาก http://www.dbd.go.th

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจัดทำบัญชี

การจัดทำบัญชี

บัญชีที่ต้องจัดทำ
1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียง แถบวีดีทัศน์และแผ่นซีดี ต้องจัดทำบัญชีสินค้า นับแต่วันที่เริ่มต้นประกอบกิจการ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการในในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำบัญชี ดังต่อไปนี้
2.1 บัญชีรายวัน
(1) บัญชีเงินสด
(2) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
(3) บัญชีรายวันซื้อ
(4) บัญชีรายวันขาย
(5) บัญชีรายวันทั่วไป
2.2 บัญชีแยกประเภท
(1) บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ หนี้สินและทุน
(2) บัญชีแยกประเภทรายได้และรายจ่าย
(3) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
(4) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
3. บัญชีสินค้า
4. บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่นและบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ

ข้อปฏิบัติในการลงรายการในบัญชี
1. ลงรายการในบัญชีเป็นภาษาไทย หรือจะลงเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีภาษาไทยกำกับหรือจะลงรายการเป็นรหัสบัญชีก็ได้แต่ต้องมีคู่มือคำ แปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้
2. ต้องลงรายการในบัญชีด้วยหมึก หรือดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือวิธีอื่นใดที่ให้ผลทำนองเดียวกัน
3. ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่สามารถแสดงความถูกต้องและครบถ้วนของรายการบัญชีและเป็นที่เชื่อถือได้
4. รายการในบัญชีที่เป็นจำนวนเงินต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หมายถึง บันทึก หนังสือ หรือ เอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก
2. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก
3. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเองทั้ง นี้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกประเภทต้องมีข้อความและรายการตามที่ กำหนด

การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้าต้อง
1. มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีทุกรายการตาม ความเป็นจริงและเป็นที่เชื่อถือได้
2. ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีในลำดับที่ 1 หรือ 2 แล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารในลำดับที่ 3

รับทำบัญชีเชียงใหม่

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี




ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543


ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ประกอบด้วย

ประเภทธุรกิจ
ผู้รับผิดชอบ


  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน



  • หุ้นส่วนผู้จัดการ



  • บริษัทจำกัด



  • กรรมการ



  • บริษัทมหาชนจำกัด



  • กรรมการ



  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

    ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย



  • ผู้รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย



  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร



  • ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ



  • สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ



  • ผู้จัดการ



  • บุคคลธรรมดา,ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ประกอบธุรกิจ

    ผลิตจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วิดีโอ



  • เจ้าของหรือผู้จัดการ





  • หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    - จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

    - ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี


    เรื่อง ดำเนินการ โทษ
    1. ผู้ทำบัญชี  
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    2. การทำบัญชี
    • ปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฎิบัติให้ถูกต้อง
    • การทำบัญชี ต้องครบถ้วนถูกต้องตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับ
      • ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ
      • ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี
      • ระยะเวลาที่ต้องมีในบัญชี
      • เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

    3.เอกสารที่ต้องใช้ประกอบลงบัญชี
    • จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวัน อีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติ ให้ถูกต้อง
    • ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    4. ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน
    • ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชีและปิดบัญชี ทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
    • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    • จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีหุ้นไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาทและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
    • ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
    5. การยื่นงบการเงิน
    • ยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและภายในเวลาที่กำหนด
    • ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
      • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
    ยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน

    นับแต่วันปิดบัญชี
      • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
      • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
      • บริษัทจำกัด
    ยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน

    นับแต่วันที่งบการเงินนั้น

    ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
      • บริษัทมหาชนจำกัด
    6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
    • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็น ประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี
    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
    • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลธรรมดาตามประเภท ที่กำหนดให้ทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีภายใน 90 วันนับแต่วัน เลิกประกอบธุรกิจ

    • ปรับไม่เกินห้าพันบาท

    วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    สรุปความเป็นมาของ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

    สรุปความเป็นมาของ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

    1. ความเป็นมาของการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
      กฎหมายว่าด้วยการบัญชีฉบับปัจจุบัน คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ได้ใช้ บังคับมาตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 27 ปี จึงมีหลักการเกี่ยวกับการทำบัญชีหลายประการ ที่ยังไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชี และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้า ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้เป็นไปตามความเป็นจริงได้มาตรฐาน การบัญชี และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล ซึ่งจะทำให้กิจการและบุคคลภายนอกได้ใช้ข้อมูลทางการ บัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการ บัญชีมาเป็นลำดับนับแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันกฎหมายดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบของ รัฐสภาแล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจะมีผลบังคับใชตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป สรุปการดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ได้ ดังนี้
      • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. .... และให้ส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาพิจารณา แต่โดยที่สภาฯ ได้สิ้นอายุ ลง ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงตกไป
      • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2537 เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการ รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจซึ่งเห็นควรรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติสภานักบัญชี พ.ศ. .... ในคราวประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 กระทรวงพาณิชย์ได้ขอถอนเรื่องนี้กลับไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดให้มีการประชุมชี้แจง และรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 เพื่อประกอบการพิจารณา เสนอแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
      • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 อนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง ฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ที่กระทรวงพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม และส่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว โดยได้ปรับปรุง แก้ไขถ้อยคำใหม่เล็กน้อย และกระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันให้นำเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอและให้ส่ง คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2541 รับทราบมติของคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อ พิจารณา โดยก่อนส่งสภาผู้แทนราษฎรให้แก้ไขมาตรา 5 วรรคสอง และเพิ่มมาตรา 27
    2. สาระสำคัญของกฎหมาย
    1. แก้ไขหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ธุรกิจทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจ ตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องจัดทำบัญชี เป็นกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลทั้งที่จดทะเบียน ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ส่วนบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนจะต้องจัดทำบัญชีต่อเมื่อรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
    2. กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจโดยแบ่งแยก หน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ชัดเจน กล่าวคือ
        2.1 กำหนดความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในการจัดให้มีการทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชีเพื่อจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชีและยื่นงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบและให้ความเห็นของผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแล้ว รวมทั้ง จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด 2.2 ผู้ทำบัญชี (หมายถึงผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้ กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ ซึ่งได้แก่พนักงานบัญชีของบริษัท หรือ ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระหรือสำนักงานรับทำบัญชี) ต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามความจริงตามมาตรฐาน การบัญชี โดยมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนรายการให้ถูกต้องครบถ้วน
    3. กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชรวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มี หน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
    4. กำหนดยกเว้นให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ที่มี ทุน สินทรัพย์หรือรายได้ ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่ต้องได้รับตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
    5. ลดภาระของธุรกิจในการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีจาก 10 ปี เหลือ 5 ปีและในกรณีจำเป็น อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาจัดเก็บได้แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี
    6. ปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับระบบการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การเก็บรักษาบัญชีการลง รายการในบัญชี เป็นต้น
    7. ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสม ครอบคลุมถึงผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี และ ผู้ที่เกี่ยวข้องและให้ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้สำหรับความผิดที่มี โทษปรับเพียงอย่างเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน เพื่อลดขั้นตอนปฏิบัติและสะดวกต่อ ผู้ประกอบธุรกิจ
    8. กำหนดบทเฉพาะกาล ยกเว้นให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นผู้ทำบัญชีอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดี กำหนด สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้หากได้ประกอบอาชีพอยู่ก่อนแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปโดยให้แจ้งต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมทั้งเข้าอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดก็จะ สามารถ ทำบัญชีต่อไปได้อีก 8 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ
    3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ทำให้คุณภาพของการจัดทำบัญชีของภาคธุรกิจมีมาตรฐานยิ่งขึ้น มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศโดยรวมและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลงบการเงิน
    2. เป็นการยกมาตรฐานของนักบัญชีและให้นักบัญชีเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง
    3. เป็นการลดภาระของภาคเอกชนลง และสอดคล้องกับระบบการจัดทำบัญชีของภาคธุรกิจ ที่พัฒนาไปตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
    4. วิธีดำเนินการในการกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติต่าง ๆ
    • โดยที่ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 มีบทบัญญัติหลายมาตราที่มอบอำนาจให้รัฐมนตรีหรือ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไปออกกฎกระทรวงหรือประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อาทิ มาตรา 7, มาตรา 8, มาตรา 11, มาตรา 14 และมาตรา 40 เป็นต้น ในทางปฏิบัติการกำหนดหลักเกณฑ์ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี โดยแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณาดำเนินการประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้แทนจากสถาบันวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิทางด้าน บัญชีจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น จึงเป็นหลักประกันได้ว่าข้อกำหนดต่าง ๆ จะเป็นไปโดยรอบคอบ และสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติของวิชาชี

      ขอบคุณข้อมุลจาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=670

    ข้อตกลงเบื้องต้นทางการบัญชี Basic accounting concepts

    ข้อตกลงเบื้องต้นทางการบัญชี (Basic accounting concepts)

    1. ความเป็นหน่วยงานอิสระ (separate entity assumption) ไม่ว่ากิจการขององค์กรจะมีเจ้าของ
    กิจการเป็นรูปแบบ ให้ถือว่าองค์กรเป็นหน่วยงานอิสระจากเจ้าของ สามารถมีสินทรัพย์ หนี้สิน เพื่อให้การ
    วัดผลดำ เนินงานว่าประสบผลหรือล้มเหลวตรงตามความเป็นจริง แม้จะมีหลายกิจการก็ให้แยกแต่เป็น
    หน่วยบัญชีแยกจากกัน
    2. การดำ เนินงานอย่างต่อเนื่อง (continuity assumption) โดยถือว่ากิจการมีอายุยาวนาน ซึ่งมี
    ผลต่อการแสดงราคาสินทรัพย์ในการทำ บัญชี (ว่าเป็นราคาซื้อเมื่อซื้อมาลงทุนหรือเป็นราคาขายเพราะจะ
    เลิกกิจการ) และต่อการวัดฐานะทางการเงินและผลการดำ เนินงาน
    3. หน่วยเงินตราคงที่ (stable-dollar assumption) การแสดงข้อมูลทางการบัญชี ซึ่งเป็นตัวเลข
    จะให้เห็นภาพในการตัดสินใจมากกว่าข้อความ จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า ค่าของเงินหรืออำ นาจซื้อของ
    หน่วยเงินคงที่ซึ่งเป็นความจริงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวมูลค่าเงินจะลดลง
    4. การกำ หนดระยะเวลารายงานผลดำ เนินการ (periodicity assumption) แม้ว่าการวัดผลการ
    ดำ เนินงานที่ถูกต้องครบถ้วนคือการวัดผลเมื่อองค์กรเลิกกิจการ แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถกระทำ ได้กับ
    กิจการที่มั่นคง จึงต้องกำ หนดรอบระยะเวลาที่จะวัดผลการดำ เนินงานเรียกว่า งวดบัญชี (accounting
    period) โดยรอบระยะเวลาต้องทันต่อการใช้ประโยชน์จึงแตกต่างกันไปตามลักษณะกิจการ แต่ทั่วไปใช้
    ระยะ 1 ปีปฏิทิน ซึ่งเรียกว่า ปีการเงิน (fiscal year) สำ หรับหน่วยงานภาครัฐใช้ 1 ต.ค.-30 ก.ย.ของปีถัดไป
    5. การเปรียบเทียบรายได้กับต้นทุน (matching principle) เพื่อให้การวัดผลถูกต้องตรงความเป็น
    จริงมากที่สุดจึงควรเปรียบเทียบในรอบระยะเวลาเดียวกัน และการคำ นวณรายได้กับต้นทุนควรใช้เกณฑ์
    พึงรับพึงจ่ายในการบัญชี (accrual basis of accounting) หมายถึง การวัดความสำ เร็จ (รายได้) ที่เกิดจาก
    จากการใช้ทรัพยากร (ต้นทุน) ในรอบระยะเวลาเดียวกัน แทนที่จะใช้เกณฑ์เงินสด
    6. หลักการที่ว่าด้วยราคาทุน (cost principle) ในการลงบัญชีจะใช้ราคาทุน (ราคาทุนไม่ได้หมาย
    ถึงต้นทุนของสินค้านั้น) หมายถึงมูลค่าเงินที่จ่ายไปจริงแม้ว่าราคาตลาด (current market price) ในขณะ
    นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม
    การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนด้านสุขภาพช่องปากในเครือข่ายบริการสุขภาพ 5
    7. ความสมํ่าเสมอ (consistency) หมายถึงใช้วิธีการเดียวกันให้ตลอดเช่น ใช้รอบระยะเวลา 1 ปี
    ก็ใช้ให้ตลอด คิดค่าเสื่อมราคาแบบไหนก็คิดแบบนั้นให้ตลอด หากจะเปลี่ยนต้องเขียนอธิบายเหตุผลและ
    ไม่สามารถเปรียบเทียบกับวิธีเก่าได้ เว้นแต่จะตามเปลี่ยนของเดิมให้เป็นวิธีใหม่ด้วย
    8. หลักฐานที่พิสูจน์ได้ (objectivity or verifiability) ข้อมูลที่ถูกบันทึกต้องมีหลักฐานเพื่อให้ข้อมูล
    เชื่อถือได้เช่น จะบันทึกรายการซื้อก็ต่อเมื่อมีเอกสารแสดงราคาสินค้าที่ซื้อ รายการใช้เงินสดจะบันทึกเมื่อ
    ใช้เงินสดไปแล้ว
    9. การเปิดเผยข้อมูล (disclosure) เพื่อให้บุคคลภายนอกทราบความเป็นไปของการดำ เนินงาน
    อย่างแท้จริงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
    10. ความมีนัยสำ คัญ (materiality) หมายถึง การเลือกที่จะเปิดเผยเฉพาะข้อมูลสำ คัญที่มีผลต่อ
    การตัดสินใจ โดยรวมรายการเล็กๆ เข้าเป็นกลุ่ม เพื่อไม่ให้มีรายละเอียดมากจนบดบังสาระสำ คัญ
    11. หลีกเลี่ยงการหลอกตัวเอง (conservatism) เนื่องจากวิธีการต่างๆ อาจได้มูลค่าแตกต่างกัน จึง
    ไม่ควรเลือกวิธีที่จะให้ค่าสูงเกินเช่น การประเมินมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เลือกวิธีที่จะได้มูลค่าตํ่า ปลอดภัย
    กว่าวิธีที่จะได้มูลค่าสูง หรือในการคิดอัตราดอกเบี้ยในการกู้เงินมาลงทุนไม่ควรใช้อัตราตํ่าจนเกินไป

    ทำบัญชี เชียงใหม่

    การบัญชีคืออะไร

    การบัญชีคืออะไร
    ประโยชน์ของ การบัญชี
    1. ช่วยให้การวางแผน การควบคุม การปฏิบัติงาน และการตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    และเกิดผล (การบริหารจัดการ) อีกทั้งยังสามารถประเมินประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และ
    การหารายได้ขององค์กรได้
    2. แสดงสถานการณ์จริงทางการเงินของกิจการเพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้อื่นทราบ
    หน้าที่ทาง การบัญชี
    1. บันทึก (recording) ตามวิธีการลงบันทึกรายการประจำ วันเช่น ค่าวัสดุ ค่าจ้างแรงงาน
    2. จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่บันทึก (classifying) เพื่อให้เข้าใจง่ายเช่น กลุ่มรายจ่ายค่าวัสดุ กลุ่มราย
    จ่ายค่าบำ รุงรักษา กลุ่มรายรับจากบริการ เงินบริจาค
    3. สรุปผล (summarizing) เป็นขั้นตอนต่อมาเพื่อแสดงสถานการณ์จริงทางการเงินที่สำ คัญเช่น
    จัดทำ เป็นบัญชีกำ ไรขาดทุน (บัญชีแสดงผลการดำ เนินงาน) จัดทำ งบดุล (บัญชีแสดงฐานะ
    ทางการเงินของกิจการ)
    4. วิเคราะห์แปลผล (interpreting) โดยเปรียบเทียบรายการสำ คัญที่เกิดขึ้นในรอบ 1 ปี และ
    วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีต่อไป

    ทำบัญชีเชียงใหม่